- เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า
เตรียมพร้อมเพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้กับทุกโอกาส
เลือกซื้อเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้ายี่ห้อ DK สำหรับความเสถียรและประสิทธิภาพในระบบไฟของคุณ!
- เครื่องสำรองไฟ
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดีเซล ขนาดเล็ก
เหมาะสำหรับใช้ตามบ้านพักอาศัย หรือพกพาไปตามนอกสถานที่ เครื่องขนาดเล็ก น้ำหนักเบา คุณภาพดี ทนทาน
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเปิด
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเปิด ราคาค่อนข้างถูก เหมาะสำหรับผู้ที่มีสถานที่ หรือ ห้องจัดเก็บวางเครื่องที่ห่างจากที่พักอาศัย หรือ...
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเก็บเสียง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเก็บเสียง ภายในบุด้วยวัสดุดูดซับเสียงรอบด้าน สามารถลดความดังของเสียงเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่อง...
- จอโฆษณาดิจิตอล
DK Technology
เรามีข่าวดีสำหรับคุณ! ตอนนี้คุณสามารถรับโปรโมชั่นและส่วนลดพิเศษจาก DK Technology ได้ง่ายๆ เพียงแค่เพิ่มเพื่อนทางไลน์ของเรา เพื่อรับข้อมูลและโปรโมชั่นล่าสุดทันที! อย่าพลาดโอกาสในการประหยัดเงินกับ DK Technology คุณจะได้รับข้อมูลส่วนลดและข่าวสารที่น่าสนใจทุกวัน
สูตรการคิดคำนวณค่าไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตัวเอง
ค่าไฟฟ้า = จำนวนยูนิต × ราคาต่อหน่วย
ค่าไฟที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในสภาวะอากาศที่นับวันจะร้อนขึ้น จากการเปิดการใช้งานเครื่องปรับอากาศ พัดลม อย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งการที่เราจะรู้วิธีการคิดคำนวณค่าไฟ เพื่อที่จะนำมาวางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ได้ไกลตัวแม้แต่น้อย
สูตรการหาค่าพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ไป
W = P × T
ความหมายของหน่วยไฟฟ้า
W = พลังงานไฟฟ้า (kW hr หรือ unit)
P = กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์ , kW)
T = เวลา (ชั่วโมง , hr)
สูตรคำนวณหายูนิตไฟฟ้าต่อวันของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1,000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน
= จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)
ตัวอย่างวิธีหายูนิตไฟฟ้า
เครื่องปรับอากาศ : กำลังไฟฟ้า 2,000 วัตต์ จำนวน 2 เครื่อง ใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง
วิธีคิด 2,000 x 2 ÷ 1,000 x 8 = 32 หน่วย คิดเป็นเดือนละ 960 หน่วย
ตู้เย็น : กำลังไฟฟ้า 125 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง
วิธีคิด 125 x 1 ÷ 1,000 x 24 = 3 หน่วย คิดเป็นเดือนละ 90 หน่วย
ทีวี : กำลังไฟฟ้า 200 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง
วิธีคิด 200 x 1 ÷ 1,000 x 6 = 1.2 หน่วย คิดเป็นเดือนละ 36 หน่วย
ไมโครเวฟ : กำลังไฟฟ้า 700 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ใช้งานวันละ 30 นาที
วิธีคิด 700 x 1 ÷ 1,000 x 0.3 = 0.21 หน่วย คิดเป็นเดือนละ 6.3 หน่วย
หม้อหุงข้าว : กำลังไฟฟ้า 500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ใช้งานวันละ 30 นาที
วิธีคิด 500 x 1 ÷ 1,000 x 0.3 = 0.15 หน่วย คิดเป็นเดือนละ 4.5 หน่วย
รวมหน่วยต่อเดือนของแต่ละเครื่องใช้ไฟฟ้าได้เท่ากับ 1,096.8 หน่วย/เดือน
วิธีคำนวณหาค่าไฟฟ้าสำหรับบ้าน (บาทต่อเดือน)
จากตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าข้างต้นทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ทีวี ไมโครเวฟ และหม้อหุงข้าว เมื่อนำมาคำนวณค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยสามารถคิดง่าย ๆ เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง กรอกข้อมูลหน่วยไฟฟ้าที่ใช้งานต่อเดือนและกดปุ่มคำนวณ ระบบจะคำนวณค่าไฟมาให้เรียบร้อย โดยใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 1,096.8 หน่วยต่อเดือน รวมเป็นเงิน 5,006.36 บาท
ทำอย่างไรให้ประหยัดค่าไฟ ลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน
วิธีประหยัดค่าไฟเพื่อลดค่าใช้จ่ายภายในบ้านสามารถทำได้โดยรู้จักใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ อย่างถูกวิธี ตัวอย่างเช่น
– ปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งานหรือไม่มีคนอยู่ในห้อง
– เลือกใช้หลอดไฟ LED ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และมีกำลังวัตต์ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน
– เครื่องปรับอากาศตั้งอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส
– ควรเลือกขนาด BTU ของเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับห้อง
– ใช้เครื่องซักผ้าที่เหมาะกับจำนวนผ้าที่ซักเป็นประจำ
– ใช้หม้อหุงข้าวขนาดที่พอเหมาะกับจำนวนคนในบ้าน
– ตู้เย็นควรตั้งอุณหภูมิที่พอเหมาะ ไม่นำของร้อนแช่ตู้เย็น ปิดประตูตู้เย็นให้สนิท และตั้งตู้เย็นห่างจากผนังประมาณ 15 ซม.
– ก่อนใช้ไดร์เป่าผมควรเช็ดผมก่อนและหวีผมขณะเป่าเพื่อให้แห้งเร็ว
การทราบถึงวิธีคำนวณค่าไฟช่วยให้วางแผนการใช้ไฟในบ้านและลดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้อีกทางหนึ่ง ร่วมกับการทำตามวิธีประหยัดไฟตามตัวอย่างข้างต้น อย่างไรก็ตามการใช้ไฟฟ้าควรใช้อย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองพลังงานในช่วงที่ราคาเชื้อเพลิงแพงขึ้น